การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ของสำนักงาน ก.ค.ศ. เรื่องการประเมินวิทยฐานะ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายในเรื่อง ปฏิรูประบบการผลิตและการพัฒนาครู ไปแล้ว เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 โดยในส่วนของสำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในส่วนการประเมินวิทยฐานะให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ดูแลระบบสวัสดิการและลดปัญหาที่บั่นทอนขวัญ กำลังใจครู ให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น
วันนี้จะได้นำเรื่องการปรับปรุงตัวชี้วัดการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว 17/2552 มาเล่าให้ฟังว่าทำไมเราจึงมีการปรับปรุงเกณฑ์นี้ และจะปรับอะไรบ้าง ปรับแล้วเพื่อนครูจะได้อะไร
สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการ ว 17/2552 นี้เป็น หลักเกณฑ์และวิธีการที่ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 โดยจะมีการประเมิน 3 ด้านคือ ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 ด้านความรู้ ความสามารถ และด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
ในด้านที่ 3 นี้จะประเมิน 2 ส่วนคือ ผลการพัฒนาคุณภาพในการปฏิบัติงาน และผลงานทางวิชาการ ซึ่งการประเมินที่ผ่านมา พบปัญหาในการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน เช่น การกำหนดตัวชี้วัดการประเมินไม่สอดคล้องกับงานที่ทำ ตัวชี้วัดบางตัวไม่เป็นปัจจุบัน เกณฑ์การให้คะแนนไม่ครอบคลุมผลการพัฒนางานของผู้ขอรับการประเมิน หัวข้อประเมินยังไม่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานที่เป็นจริง เป็นต้น ดังนั้น ก.ค.ศ.จึงมีมติให้ปรับปรุงการประเมินด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 ให้มีความสมบูรณ์เหมาะสม และสอดคล้องกับภาระงานที่ปฏิบัติจริงมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการปรับปรุงดังกล่าวแล้ว จึงได้กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน แยกของแต่ละส่วนราชการเพิ่มเติมด้วย เช่น สายงานการสอน ได้กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินให้แก่สำนักงาน กศน. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (โรงเรียนการศึกษาพิเศษ และศูนย์การศึกษาพิเศษ) อีกทั้งได้กำหนดเกณฑ์ประเมินเฉพาะสำหรับผู้สอน การศึกษาปฐมวัย บรรณารักษ์ แนะแนว กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมชุมนุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับสายงานอื่น ได้แก่ สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษา และสายงานนิเทศการศึกษา ก็ได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงเช่นกัน
ดังนั้น ในการปรับปรุงครั้งนี้จึงเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน การพัฒนาด้านสุขภาพ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ได้นำภาระงานของทุกสายงานมากำหนดเป็นตัวชี้วัดให้สอดคล้องกัน เพื่อให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาไปพร้อมๆ กัน โดยทุกสายงานกำหนดให้มีการประเมินของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และในส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนกำหนดให้มีการประเมินในสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา และสายงานบริหารการศึกษา สำหรับผลการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ด้านผู้เรียน ครู กำหนดให้มีการประเมินในสายงานบริหารสถานศึกษาและสายงานบริหารการศึกษา เป็นต้น
ขณะนี้สำนักงาน ก.ค.ศ.กำลังดำเนินการปรับปรุงและจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะดังกล่าว เพื่อเสนอต่อ ก.ค.ศ. จึงขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ติดตามความเคลื่อนไหวต่อไปด้วยค่ะ และพบกันใหม่ในวันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เลขาธิการ ก.ค.ศ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ + การศึกษานอกระบบ (กศน.)
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น