หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ กรณีปกติ

ติวสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ กรณีปกติ
ติวสอบครูผู้ช่วย

เตรียมสอบผู้บริหาร

เตรียมสอบผู้บริหาร
เตรียมสอบผู้บริหาร

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การนัดประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาอย่างไร จะไม่ทำให้เกิดปัญหา

การนัดประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาอย่างไร จะไม่ทำให้เกิดปัญหา

สวัสดีค่ะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานี ก.ค.ศ. ในวันนี้ ดิฉันขอนำกรณีการวินิจฉัยข้อหารืออำนาจนัดประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มาบอกกล่าว เพื่อให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมาย จะได้ลดปัญหาการร้องเรียน การฟ้องเป็นคดีต่อศาล ดังนี้
ความเป็นมาของเรื่องนี้คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอให้พิจารณาข้อหารือว่าอำนาจเรียกประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นของผู้ใด และในกรณีที่มีเหตุความจำเป็นเร่งด่วนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นเลขานุการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจนัดประชุมโดยไม่รอคำสั่งอนุมัติจัดประชุมจากประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ได้หรือไม่ และจะมีผลต่อมติของที่ประชุมหรือไม่ อย่างไร ซึ่ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พิจารณาวินิจฉัยข้อ หารือแล้วเห็นว่า เมื่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 รวมทั้งระเบียบหรือข้อบังคับที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการประชุมของคณะอนุกรรมการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา แต่อย่างใด จึงต้องนำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ในเรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประชุมมาใช้บังคับ จึงพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นว่าอำนาจเรียกให้มีการประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นอำนาจของประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่บัญญัติว่า "การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือและแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่กรรมการนั้นจะได้ทราบการบอกนัดในที่ประชุมแล้ว กรณีดังกล่าวจะทำหนังสือแจ้งนัดเฉพาะกรรมการที่ไม่ได้มาประชุมก็ได้ "และมาตรา 80 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติว่า "บทบัญญัติในวรรคสองมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งประธานกรรมการจะนัดประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้"
จากบทบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นัดประชุมโดยอ้างเหตุจำเป็นเร่งด่วน โดยไม่รอให้มีคำสั่งอนุมัติจัดประชุมจากประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา จึงเป็นการนัดประชุมโดยผู้ไม่มีอำนาจในการประชุมตามกฎหมาย เนื่องจากอำนาจในการพิจารณาว่าปัญหามีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเรียกประชุมหรือไม่เป็นอำนาจของประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ผลหรือมติของการประชุมที่เกิดจากการประชุม ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการประชุม โดยไม่รอให้มีคำสั่งอนุมัติจัดประชุมจากประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ดังนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พึงที่จะต้องระมัดระวังและต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย มิฉะนั้นอาจจะเกิดปัญหาโดยที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้ แล้วพบกันใหม่ วันจันทร์หน้าสวัสดีค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กฎ/ระเบียบ/เรื่องใหม่ จาก สพร.

ประกาศ / เรื่องใหม่ จาก สพป.และ สพม.ทั่วประเทศ