วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เกณฑ์เชิงประจักษ์ฉบับใหม่(1)
เกณฑ์เชิงประจักษ์ฉบับใหม่(1)
ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เรียกโดยทั่วไปว่า เกณฑ์เชิงประจักษ์ หรือเกณฑ์ ว5/2554 โดยมีการยื่นขอรับการประเมิน และมีคณะกรรมการไปประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงานมาแล้ว 1 รอบ ซึ่งในการประเมินของคณะกรรมการพบว่าองค์ ประกอบของการประเมินบางหัวข้อไม่ชัดเจน หรือไม่สอดคล้องกับบริบทการปฏิบัติงานของผู้ขอรับการประเมิน จึงได้นำเสนอข้อคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับ ปัญหาและอุปสรรคของหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อให้ ก.ค.ศ.พิจารณา ซึ่ง ก.ค.ศ.พิจารณาแล้วเห็นควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ โดยให้สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดประชุม ผู้แทนคณะกรรมการผู้ประเมินเพื่อระดมความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และได้มีการ นำเสนอ ก.ค.ศ.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ซึ่ง ก.ค.ศ.ได้มีมติยก เลิกหลักเกณฑ์ ว5/2554 โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็น ที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ทุกตำแหน่ง ฉบับใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.ผู้ขอรับการประเมินต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน ตามมาตรฐานวิทยฐานะ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด นับถึงวันที่ยื่นขอรับการประเมิน กรณีผู้ขอรับการประเมินยังไม่ได้รับการพัฒนาก่อนแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ให้ถือว่ามีคุณสมบัติตามข้อนี้
2.ผู้ขอรับการประเมินต้องมีภาระงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งที่ขอรับการประเมิน โดยสายงานการสอน มีภาระงานสอนตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด สำหรับสายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษา และสายงานนิเทศการศึกษา ต้องมีภาระงานในหน้าที่และความรับผิดชอบเต็มเวลา
3.ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งที่ขอรับการประเมินย้อนหลัง 3 ปี ติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
4.มีผลงานดีเด่น ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป หรือมีผลงานดีเด่นที่ส่วนราชการต้นสังกัดพิจารณาเห็นว่าเป็นผลงานที่มีคุณภาพเทียบเคียงกับผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป กรณีเสนอขอวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 2 รางวัล และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 3 รางวัล ภายใน 3 ปี โดยต้องเป็นผลงานดีเด่นที่ตรง หรือสอดคล้องกับสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอรับการประเมิน หากได้รับรางวัลเกิน 3 ปี ต้องมีหลักฐานแสดงการพัฒนาผลงานและใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
นอกจากสาระสำคัญ 4 ข้อดังกล่าวข้างต้น ยังมีสาระสำคัญที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรได้รับความรู้อีกหลายข้อ จะนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป
จรุงรัตน์ เคารพรัตน์
ผอ.ภารกิจระบบตำแหน่งและวิทยฐานะที่ 1
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
โดย "ติวสอบดอทคอม"
www.tuewsob.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น