หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ กรณีปกติ

ติวสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ กรณีปกติ
ติวสอบครูผู้ช่วย

เตรียมสอบผู้บริหาร

เตรียมสอบผู้บริหาร
เตรียมสอบผู้บริหาร

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การดำเนินการทางวินัย กับการดำเนินคดีอาญา คนละเรื่องเดียวกันหรือไม่

การดำเนินการทางวินัย กับการดำเนินคดีอาญา คนละเรื่องเดียวกันหรือไม่

สวัสดีค่ะเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน สถานี ก.ค.ศ. ในวันนี้จะขอนำเสนอเรื่องที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงต่อ ก.ค.ศ. และในขณะเดียวกันก็ถูกดำเนินคดีอาญาด้วย โดยอุทธรณ์ขอให้รอคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาให้ถึงที่สุดเสียก่อน กรณีนี้หลายคนอาจสงสัยว่าจำต้องรอผลคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาให้ถึงที่สุดเสียก่อนจึงจะลงโทษทางวินัย หรือพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยได้ใช่หรือไม่
ซึ่งเรื่องนี้ได้มีแนววินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 142/2549 และที่ อ. 463/2551 และการกำหนดแนวปฏิบัติตามหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ สร 0904/ว 4 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2509 ว่าการดำเนินคดีอาญาและการดำเนินการทางวินัยเป็นการดำเนินการตามกฎหมายคนละฉบับ มีกระบวนการพิจารณา จุดประสงค์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การดำเนินคดีอาญานั้นมุ่งประสงค์ควบคุมการกระทำของบุคคลในสังคมมิให้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดอาญา เพื่อคุ้มครองสังคมโดยรวมให้มีความสงบสุข ส่วนการดำเนินการทางวินัยเป็นมาตรการในการรักษาวินัยของข้าราชการที่มุ่งปราบปรามข้าราชการที่กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กำหนดโดยใช้วิธีการลงโทษทางวินัย ซึ่งมีผลเป็นการปรามไม่ให้ข้าราชการอื่นกระทำผิดวินัยเพราะเกรงกลัวการลงโทษด้วย อีกทั้งการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อจะลงโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชาก็แตกต่างจากการรับฟังพยานหลักฐาน เพื่อลงโทษคดีอาญาของศาล โดยคดีอาญาศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัย ส่วนการลงโทษทางวินัยผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ดุลพินิจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้ โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนโดยไม่จำต้องปรากฏพยานหลักฐานชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยดังเช่นคดีอาญา ดังนั้น การดำเนินการทางวินัยหรือการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยจึงไม่จำต้องรอฟังผลคดีอาญา ทั้งผลของคดีอาญาจะเป็นประการใดไม่ผูกมัดผู้ดำเนินการทางวินัยที่จะเห็นแตกต่างได้ หากได้กระทำไปโดยสุจริตและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว กล่าวโดยสรุป การดำเนินการทางวินัยหรือการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยกรณีผู้ถูกกล่าวหาถูกดำเนินคดีอาญาด้วยจึงไม่จำเป็นต้องรอผลคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาให้ถึงที่สุดก่อนแต่อย่างใด
เป็นอย่างไรบ้างคะ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้นำเรื่องการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงต่อ ก.ค.ศ. ในขณะเดียวกันก็ถูกดำเนินคดีอาญาด้วย เพื่อนครูคงจะได้รับรู้รับทราบรายละเอียดเนื้อหา และแนวทางปฏิบัติ เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีเดียวกันนี้ ซึ่งหวังว่าคงจะไม่เกิดเรื่องทำนองดังกล่าวนี้กับเพื่อนครูอย่างแน่นอน หากท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนตามแบบแผนของการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดี แล้วพบกันใหม่ในวันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กฎ/ระเบียบ/เรื่องใหม่ จาก สพร.

ประกาศ / เรื่องใหม่ จาก สพป.และ สพม.ทั่วประเทศ