เกณฑ์การคัดเลือกครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ (1)
สวัสดีค่ะ เพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้ดิฉันนำหลักเกณฑ์การคัดเลือกครู ผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ซึ่งมีกรณีคัดเลือกอยู่ 7 กรณีคือ 1) มีมติคณะรัฐมนตรี หรือทางราชการมีเงื่อนไขให้รับโอนโรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนอื่นใดมาเป็นโรงเรียนรัฐบาล หรือเงื่อนไขผูกพันอื่นที่ทางราชการให้ไว้เป็นการเฉพาะ 2) มีสัญญาผูกพันตามโครงการพิเศษ หรือโครงการนักเรียนทุนรัฐบาล 3) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันไม่น้อยกว่า 2 ครั้งแล้ว ไม่มีผู้สมัคร 4) ดำเนินการสอบแข่งขันไม่น้อยกว่า 2 ครั้งแล้วได้จำนวนคนไม่เพียงพอกับตำแหน่งว่าง 5) ให้ไปดำรงตำแหน่งในพื้นที่ที่เป็นเกาะหรือบนภูเขาสูง หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ หรือพื้นที่พิเศษ 6) การคัดเลือกจากครูอัตราจ้าง ลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ของสถานศึกษา พนักงานราชการ ครูสอนศาสนาอิสลามหรือวิทยากรอิสลามศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างเหมาบริการ ซึ่งทุกตำแหน่งต้องได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่สอนตามคำสั่งหรือสัญญาจ้างอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 7) ความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษอื่นตามที่ผู้ดำเนินการคัดเลือกกำหนด โดยได้รับอนุมัติจาก ก.ค.ศ. เป็นหลักเกณฑ์การสรรหาครูผู้ช่วยอีกวิธีหนึ่ง มานำเสนอเป็นความรู้ให้กับเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้ค่ะ
ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตร การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ เพื่อให้เกิดความชัดเจน เป็นมาตรฐานและสามารถสรรหาข้าราชการครูตามความต้องการของสถานศึกษาได้อย่างดียิ่ง ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.ผู้เข้ารับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานตำแหน่ง ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กล่าวคือจะต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนด มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ที่ได้รับการอนุมัติก่อนวันรับสมัคร
2.กระจายอำนาจให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาไปดำเนินการคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม
ซึ่งอาจรวมกลุ่มกันดำเนินการก็ได้และให้ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดโครงสร้างการออกข้อสอบ โดยคำนึงถึงค่าน้ำหนักและสัดส่วนในการออกข้อสอบแต่ละเนื้อหาของแต่ละภาค เพื่อให้เป็นมาตรฐานและครอบคลุมทุกประเด็น เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษาไปดำเนินการ
เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด สัปดาห์หน้าจะนำเสนอรายละเอียดส่วนที่เหลือ ซึ่งได้แก่การสมัครสอบและหลักสูตรการคัดเลือก อย่าลืมติดตามนะคะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ + การศึกษานอกระบบ (กศน.)
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น