การยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย แล้วลืมลงลายมือชื่อผลเป็นอย่างไร
สวัสดีค่ะ สถานี ก.ค.ศ. วันนี้ดิฉันขอเสนอเรื่องจริงกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยแล้วรีบร้อนลืมลงลายมือชื่อในหนังสืออุทธรณ์ จะเกิดผลอย่างไร
โดยมีข้อเท็จจริงว่า นาย พ. ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ตามมติ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ซึ่งตามกฎหมายผู้นั้นจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ประกอบกับข้อ 8(2) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.2550 ต่อมานาย พ. ได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งลงโทษ โดยที่หนังสืออุทธรณ์ของนาย พ. จัดทำเสร็จในเวลากระชั้นชิดใกล้ครบกำหนด 30 วัน และด้วยความรีบร้อนลืมลงลายมือชื่อในหนังสืออุทธรณ์ที่ส่งไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ. ดังนี้จะอนุโลมโดยถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่
สถานี ก.ค.ศ.ขอเรียนว่า การที่นาย พ. ลืมลงลายมือชื่อในหนังสืออุทธรณ์จะอนุโลมโดยถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ และกรณีดังกล่าวสำนักงาน ก.ค.ศ.ไม่สามารถแจ้งให้นาย พ. มาลงลายมือชื่อได้ทันภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (30 วัน) เนื่องจากยื่นหนังสืออุทธรณ์มาวันสุดท้าย สำนักงาน ก.ค.ศ.มาพบว่า นาย พ. มิได้ลงลายมือชื่อในวันถัดมา ซึ่งกรณีดังกล่าว ก.ค.ศ.พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ ก.ค.ศ.จะรับไว้พิจารณาได้ อาศัยอำนาจตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ประกอบกับข้อ 10 วรรคสาม ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.2550 จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับอุทธรณ์และให้แจ้งมติพร้อมสิทธิ ในการฟ้องศาลปกครองให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว ดังนั้นจึงขอเตือนไว้ว่าไม่ควรทำอะไรในวันสุดท้ายหากมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดจะทำให้แก้ไขไม่ทันท่วงที และอาจเสียสิทธิต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ ด้วยความห่วงใยและปรารถนาดีกับเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ขอให้ทุกท่านรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ท่านก็จะไม่ถูกลงโทษทางวินัยแต่ประการใด
ดังนั้น การลงลายมือชื่อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อตัวเราไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่หากยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะขออย่าได้ไปลงนามค้ำประกันในการยืมเงินให้ใครนะคะ เพราะนั่นหมายถึงหากเกิดอะไรขึ้น ท่านต้องเป็นผู้รับผิดชอบรับชำระหนี้แทนลูกหนี้เต็มจำนวนโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แล้วพบกันใหม่ในวันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557
โดยมีข้อเท็จจริงว่า นาย พ. ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ตามมติ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ซึ่งตามกฎหมายผู้นั้นจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ประกอบกับข้อ 8(2) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.2550 ต่อมานาย พ. ได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งลงโทษ โดยที่หนังสืออุทธรณ์ของนาย พ. จัดทำเสร็จในเวลากระชั้นชิดใกล้ครบกำหนด 30 วัน และด้วยความรีบร้อนลืมลงลายมือชื่อในหนังสืออุทธรณ์ที่ส่งไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ. ดังนี้จะอนุโลมโดยถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่
ดังนั้น การลงลายมือชื่อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อตัวเราไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่หากยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะขออย่าได้ไปลงนามค้ำประกันในการยืมเงินให้ใครนะคะ เพราะนั่นหมายถึงหากเกิดอะไรขึ้น ท่านต้องเป็นผู้รับผิดชอบรับชำระหนี้แทนลูกหนี้เต็มจำนวนโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แล้วพบกันใหม่ในวันจันทร์หน้าค่ะ
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ + การศึกษานอกระบบ (กศน.)
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น