หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ กรณีปกติ

ติวสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ กรณีปกติ
ติวสอบครูผู้ช่วย

เตรียมสอบผู้บริหาร

เตรียมสอบผู้บริหาร
เตรียมสอบผู้บริหาร

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ลาศึกษาต่อ และการได้รับเงินเดือน

ลาศึกษาต่อ และการได้รับเงินเดือน

สวัสดีค่ะเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน สถานี ก.ค.ศ.วันนี้ ดิฉันมีเรื่องมาบอกกล่าวให้ท่านได้รับทราบ ซึ่งเป็นกรณีที่พบจากการตรวจสอบการรายงานการดำเนินงานของเขตพื้นที่การศึกษา เกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ลาศึกษาต่อได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างลา ซึ่งมีการพิจารณาที่ไม่เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด เพื่อที่จะได้เป็นกรณีตัวอย่างให้ความรู้กัน ดังนี้
ตามที่ ก.ค.ศ.มีมติมอบให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้งเป็นผู้พิจารณาการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย ตามนัยข้อ 8 ของกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2550 โดยต้องดำเนินการตามแนวทางการพิจารณาอนุมัติตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.7/ว 8 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2554 และให้รายงาน ก.ค.ศ. เพื่อทราบ
ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ตรวจสอบพบว่ามีกรณีที่พิจารณาอนุมัติไม่เป็นไปตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนฯ เช่น
กรณีที่ 1 นางสาว ก. ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อปริญญาโท มีกำหนด 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2553 และได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2553 แต่สำเร็จการศึกษา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 จากกรณีตัวอย่างจะเห็นได้ว่า นางสาว ก. ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อเป็นเวลา 2 ปี แต่ใช้เวลาในการศึกษาเกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต กล่าวคือใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี 9 เดือน จึงไม่เป็นไปตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนฯ ข้อ 8 (1) ที่กำหนดว่าศึกษา ฝึกอบรม หรือวิจัย ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตและตามระยะเวลาของหลักสูตรที่สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือวิจัย ได้กำหนดไว้โดยไม่มีการขอขยายระยะเวลา
กรณีที่ 2 นางสาว ข. ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อปริญญาเอก มีกำหนด 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 (ระยะเวลาของหลักสูตรดังกล่าวกำหนดไว้ 3 ปีการศึกษา) นางสาว ข. สำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 จากกรณีตัวอย่าง นางสาว ข. สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ (4 ปี) แต่เกินระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด (3 ปี) จึงไม่เป็นไปตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน ข้อ 8 (1) เช่นเดียวกับกรณีที่ 1
ดังนั้น ทั้ง 2 กรณีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างลาศึกษาต่อได้
จากกรณีที่นำเสนอในวันนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คงได้รับความกระจ่างกันแล้วนะคะ และหากมีการพิจารณากรณีเช่นนี้ จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนค่ะ แล้วพบกันสัปดาห์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ก.ค.ศ.จัดงบเงินทุนหมุนเวียน 260 ล้านบาท ให้ครูกู้ยืม

ก.ค.ศ.จัดงบเงินทุนหมุนเวียน 260 ล้านบาท ให้ครูกู้ยืม

สวัสดีค่ะ เพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบกันอีกเช่นเคยนะคะ สำหรับวันนี้ ดิฉันจะขอนำเสนอภารกิจสำคัญอีกด้านหนึ่งของสำนักงาน ก.ค.ศ. ซึ่งนอกจากงานด้านการบริหารงานบุคคล เกี่ยวกับการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการเรื่องการสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนวิทยฐานะ วินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์แล้ว สำนักงาน ก.ค.ศ. ยังได้ดำเนินการในเรื่องการจัดสวัสดิการ สิทธิประโยชน์เกื้อกูล ให้แก่เพื่อนครู คือ โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันมีเงินทุนกว่า 1,200 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินที่จำเป็นเร่งด่วนของข้าราชการครู โดยการให้กู้ยืมรายละไม่เกิน 200,000.00 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ซึ่งที่ผ่านมามีข้าราชการครู ได้รับการช่วยเหลือบรรเทาภาระหนี้สินไปแล้วกว่า 52,000 ราย
และขอแจ้งให้ทราบว่า ขณะนี้คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูได้อนุมัติจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 (ครั้งที่ 2) จำนวน 260 ล้านบาท เพื่อให้ข้าราชการครู (ผู้สอน) ได้กู้ยืมรายละไม่เกิน 200,000.00 บาท (สองแสนบาทถ้วน) กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR-1 ต่อปี (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 5.875 ต่อปี) ให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน รวม 96 งวด (8 ปี) โดยข้าราชการครู (ผู้สอน) ที่จะได้รับพิจารณาอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนฯ จะต้องเป็นผู้มีหนี้สินที่ก่อไว้ก่อนวันยื่นคำขอกู้โดยเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงบังคับได้ตามกฎหมาย และต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1)เป็นข้าราชการครูที่ทำหน้าที่ผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 2)รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 3)มีเงินเดือนคงเหลือสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเงินเดือน 4) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และเป็นแบบอย่างที่ดี 5)ไม่เคยกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูมาก่อน (ยกเว้นผู้ที่เคยกู้ยืม 10,000 บาท หรือกู้ยืม 20,000 บาท มาก่อน หากผ่อนชำระหมดแล้วสามารถกู้ได้) 6)ไม่อยู่ในระหว่าง ถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย 7)ไม่ถูกฟ้องร้อง คดีล้มละลาย หรือมีคำสั่งศาลให้พิทักษ์ทรัพย์)
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้มีหนังสือแจ้งส่วนราชการ/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ประชาสัมพันธ์และประกาศให้ข้าราชการครูที่มีความประสงค์กู้ยืมและมีคุณสมบัติครบถ้วนได้กู้ยืมไปแล้ว ดังนั้น หากข้าราชการครูท่านได้มีความประสงค์จะกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนฯ ขอให้รีบไปติดต่อสอบถามข้อมูลรายละเอียด ได้ที่ส่วนราชการ/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่ และหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถไปดูได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ค.ศ. www.otepc.go.th สำนักงาน ก.ค.ศ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเงินทุนหมุนเวียนฯ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ข้าราชการครูได้บ้างตามสมควร แล้วพบกันใหม่วันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ความเคลื่อนไหวการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์

ความเคลื่อนไหวการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์

สวัสดีค่ะเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน พบกันเป็นประจำทุกวันจันทร์นะคะ ซึ่งวันนี้ดิฉันมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการประเมินคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลัก เกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็น วิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหลักเกณฑ์ ว13/2556 มาบอกกล่าว ให้ทราบกัน ดังนี้
จากการที่ ก.ค.ศ.มีมติให้มีการยื่นคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ตามหลักเกณฑ์ ว13/2556 ปรากฏว่าส่วนราชการได้เสนอ คำขอเพื่อให้ ก.ค.ศ.พิจารณาคุณสมบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งยื่นขอรับการประเมินรางวัลสูงสุดระดับชาติ จำนวน 460 ราย และประเภทผลงานเทียบเคียงผลงานระดับชาติจำนวน 1,325 ราย รวมทั้งสิ้น 1,785 ราย แยกเป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1,672 ราย (ชำนาญการพิเศษ 366 ราย เชี่ยวชาญ 1,306 ราย) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 44 ราย (ชำนาญการพิเศษ 13 ราย เชี่ยวชาญ 31 ราย) สังกัดสำนักงาน กศน. 69 ราย (ชำนาญการพิเศษ 5 ราย เชี่ยวชาญ 64 ราย) และนอกจากนี้ ส่วนราชการต่างๆ ยังได้เสนอรางวัลให้ ก.ค.ศ. รับรองเป็นรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไปใหม่อีกจำนวน 187 รางวัล ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้เสนอ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจฯ พิจารณาแล้ว โดยที่ประชุมมีมติให้การรับรอง เป็นรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป จำนวน 79 รางวัล จากที่เคยรับรองมาแล้ว 66 รางวัล เมื่อปี พ.ศ.2554 (รวม ก.ค.ศ.ให้การรับรองแล้ว จำนวน 145 รางวัล)
สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ดำเนินการวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เสนอ ขอรับการประเมินและเสนอให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจฯพิจารณา แล้ว จำนวน 311 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาอีกจำนวน 1,474 ราย ซึ่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถเข้าไปดูรายชื่อ รางวัลที่ ก.ค.ศ.ให้การรับรอง และรายชื่อผู้ที่ผ่านการวิเคราะห์คุณ สมบัติได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ www.otepc.go.th หากต้อง การคัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ที่ผ่านการวิเคราะห์ คุณสมบัติดังกล่าวก็สามารถทำได้ เพื่อให้การประเมินโปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกคน หลังจากพ้นกำหนดการตรวจสอบและคัดค้าน กรรมการจะได้ไปประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริงต่อไป
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาท่านใดที่พบรายชื่อประกาศในเว็บไซต์ ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมรับการประเมินจากคณะกรรมการ สำหรับส่วนที่เหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ สำนักงาน ก.ค.ศ.จะเร่งดำเนินการโดยเร็ว แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

การนำทรัพย์สินทางราชการไปจำนำ เป็นความผิดทางวินัยหรือไม่

การนำทรัพย์สินทางราชการไปจำนำ เป็นความผิดทางวินัยหรือไม่

สถานี ก.ค.ศ.วันนี้ ดิฉันอยากนำเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 18 ปีมาแล้วมาคุยให้เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาฟัง ไม่น่าเชื่อจริงๆ ว่าเรื่องราวการกระทำผิดของครูจะคล้ายคลึงกันกับเรื่องครูติดหวยใต้ดินที่เป็นข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์เลขที่ 1 วิภาวดีฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา กล่าวคือ เมื่อประมาณ 18 ปีก่อน ครูนำเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าของวิทยาลัยไปจำนำสองครั้ง นานประมาณ 2 เดือนและได้ไปไถ่ถอนคืนมา แต่ครูติดหวยใต้ดินรายล่าสุดนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของโรงเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนไปจำนำมากถึง 40 เครื่อง ทำมาตั้งแต่ปี 2555 ระยะแรกๆ ก็ไถ่ถอนคืนมาไว้ตามเดิม แต่ระยะหลังหมุนเงินไม่ทันจึงไม่ได้ไปไถ่ถอนจนถูกจับได้ในที่สุด
กรณีดังกล่าวนี้ ทั้งเรื่องเมื่อ 18 ปีมาแล้วและเรื่องที่เกิดขึ้นใน พ.ศ.นี้ ครูผู้กระทำย่อมมีความผิดทั้งทางอาญาและทางวินัยของข้าราชการต้องหมดอนาคต ทางอาญาอาจถึงขั้นต้องติดคุกติดตะรางได้ ติดมากติดน้อยขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดี ในส่วนของความผิดวินัย การที่ข้าราชการครูนำเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าของวิทยาลัยไปจำนำสองครั้งนานประมาณ 2 เดือน และไปไถ่ถอนคืนมาใช้งานตามปกติดังกล่าว ซึ่งขณะนั้นต้นสังกัดลงโทษเพียงโทษตัดเงินเดือน 10% เป็นเวลา 2 เดือน หากแต่ ก.ค. (ในขณะนั้น) พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ครูนำเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าของวิทยาลัยไปจำนำ เป็นการนำทรัพย์สินของทางราชการไปแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันมีลักษณะเป็นการลักทรัพย์ของทางราชการ พฤติการณ์เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามมาตรา 81 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 (กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น) ครูที่เอาเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าไปจำนำจะอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของครอบครัวเพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทางราชการนั้นก็ไม่อาจรับฟังตามที่กล่าวอ้างได้ จึงได้มีมติให้เพิ่มโทษเป็นโทษให้ออกจากราชการ (โทษในขณะนั้น ปัจจุบันเท่ากับโทษปลดออกจากราชการ)
ดังนั้น จึงขอเตือนเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านว่า หากคิดจะทำอะไรให้ยับยั้งชั่งใจเพื่อเกียรติยศและชื่อเสียงของตนเองและครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ไม่มีใครที่จะมาทำลายเกียรติชื่อเสียงของเราได้นอกจากตัวเราเองค่ะ ดังนั้น การเป็นข้าราชการที่ดีต้องรักษาวินัย ละเว้นการกระทำที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อห้าม และพึงประพฤติปฏิบัติตนตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยเคร่งครัดอยู่เสมอตามนัยมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แล้วพบกันใหม่วันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

การคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (จบ)

การคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (จบ)

สวัสดีค่ะเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคยนะคะ ซึ่งในสัปดาห์นี้ ดิฉันจะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านการบริหารการมัธยมศึกษา สำหรับผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในกลุ่มทั่วไป มาให้ความรู้ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่ได้นำเสนอด้านการบริหารการประถมศึกษาค่ะ
ประสบการณ์ด้านการบริหารการมัธยมศึกษา ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (เดิม) และหรือในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา/ผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา หรือจัดการศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา/ผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา/ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่ง ซึ่งมีสถานศึกษาในสังกัดจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด/ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร/หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/หัวหน้าการประถมศึกษากิ่งอำเภอ/ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษากิ่งอำเภอ
นอกจากนี้ ก.ค.ศ.อนุมัติให้ผู้สมัครซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสามารถนำประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (เดิม)/ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด/ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร/ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด/ศึกษาธิการอำเภอ/ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ/ศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม/บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ระดับไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการพิเศษ ที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอันดับ คศ.3 หรือไม่ต่ำกว่าระดับ 8 มานับรวมเป็นประสบการณ์ในการบริหารการมัธยมศึกษาได้ ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการมัธยมศึกษาดังกล่าว อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันรับสมัครคัดเลือกวันสุดท้าย
สำหรับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกในกลุ่มประสบการณ์ แตกต่างจากกลุ่มทั่วไป กล่าวคือ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี /รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอันดับ คศ.4 /ผู้อำนวยการสถานศึกษามีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี /ผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนหรือเคยรักษาราชการแทน หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา แล้วแต่กรณี ในระยะเริ่มแรกที่มีการแยกเขตพื้นที่การศึกษา นอกนั้น ใช้คุณสมบัติเดียวกันกับกลุ่มทั่วไป รายละเอียดต่างๆ สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ www.otepc.go.th ขอให้ท่านตั้งใจและเตรียมพร้อมในการสอบในครั้งนี้ ซึ่งจะรับสมัครในวันที่ 27 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2557 นี้ ขอให้โชคดีทุกท่าน แล้วพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

การคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (1)

การคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (1)

สวัสดีค่ะเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคยนะคะ สำหรับสัปดาห์นี้ดิฉันจะนำเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นที่สนใจกันอยู่ในขณะนี้ มาบอกกล่าวกันค่ะ
มีตำแหน่งว่างที่จะเปิดสอบ 50 ตำแหน่ง แบ่งเป็นตำแหน่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 36 ตำแหน่ง และมัธยมศึกษาอีก 14 ตำแหน่ง ซึ่งผู้มีสิทธิต้องสมัครโดยตรงที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ชั้น 5 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2557-2 มิถุนายน 2557 เวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ และกำหนดสอบภาค ก และภาค ข วันที่ 21 มิถุนายน 2557 โดยผู้สอบต้องได้คะแนนในภาค ก และภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิสอบภาค ค สำหรับการคัดเลือกได้แบ่งกลุ่มผู้มีสิทธิสมัครเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทั่วไป และกลุ่มประสบการณ์ โดยกลุ่มทั่วไป ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ. มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะและดำรงตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 1) ดำรงตำแหน่งรอง ผอ.สพท.มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ.4 หรือ 2) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ หรือ 3) ดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ.เทียบเท่า 4) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และ 5) ต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา แล้วแต่กรณี โดยผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการประถมศึกษา ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งรอง ผอ.สพท. หรือผู้ช่วย ผอ.สพท. หรือเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิมและหรือในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา / ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา หรือทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา / เคยดำรงตำแหน่งรอง ผอ.สพท.ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิม ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอหรือกิ่งอำเภอ / เคยดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม / เคยดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ระดับไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการพิเศษ ที่มีประสบการณ์บริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอันดับ คศ.3 หรือไม่ต่ำกว่าระดับ 8 / ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งรอง ผอ.สพท.ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ทั้งนี้ต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการประถมศึกษาตามที่กล่าวข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันรับสมัครคัดเลือกวันสุดท้าย
จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า มีการแบ่งกลุ่มผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็น 2 กลุ่ม แต่เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด ในครั้งนี้จึงนำเสนอประสบการณ์การบริหารการประถมศึกษา ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของกลุ่มทั่วไปก่อน สำหรับสัปดาห์หน้าดิฉันจะได้นำประสบการณ์การบริหารการมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของกลุ่มทั่วไปเช่นเดียวกัน มานำเสนอต่อไป แล้วพบกันใหม่วันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ +  การศึกษานอกระบบ (กศน.)


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

กฎ/ระเบียบ/เรื่องใหม่ จาก สพร.

ประกาศ / เรื่องใหม่ จาก สพป.และ สพม.ทั่วประเทศ